ACSP : Non-Metal Group VIIA [ Halogen ]

ว่าด้วยเรื่องของ ธาตุอโลหะหมู่7A คุณลักษณะ คุณสมบัติเฉพาะ ประโยชน์ การนำไปใช้




เว็บไซด์ http://www.acspscience.eu.tf/ แห่งนี้ ได้นำข้อมูลของธาตุหมู่ 7A (ธาตุแฮโลเจน) มาเรียบเรียงเป็นรูปแบบที่ดูสวยงาม เข้าใจง่ายต่อการศึกษาโดยเผยแพร่สู่ทางอินเทอร์เนต ซึ่งมีความทันสมัยเหมาะแก่คนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน หากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ต้องขออภัยไว้นะที่นี้ด้วยครับ

สามารถติดต่อได้ที่

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/3 โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
E-mail : jopanupol@hotmail.com

ขอบคุณสำหรับผู้เยี่ยมชมทุกท่าน



และนี่ เป็นแบบเรียนแบบทดสอบบนเว็บ ที่ผมได้หามาให้เพื่อนๆ เป็นของโรงเรียนหนึ่งครับ ลองไปใช้บริการกันได้เลยครับ
http://www.kr.ac.th/wai/show.php?id=144

ธาตุหมู่ VIIA มีทั้งหมด 5 ธาตุ คือ ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีนและแอสทาทีน สำหรับธาตุแอสทาทีนไม่มีในธรรมชาติ เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่สังเคราะห์ ธาตุหมู่ VIIA มีชื่อว่า ธาตุแฮโลเจน เพราะสารประกอบของหมู่ VIIA จะเกิดเป็นเกลือที่มีรสเค็ม



ธาตุหมู่ VIIA เรียกว่าธาตุกลุ่ม ฮาโลเจน(halogens)
แฮโลเจนเป็นคำในภาษากรีก 2 คำคือ halo แปลว่าเกลือ gen แปลว่าสร้าง แฮโลเจนจึงแปลว่าผู้ทำให้เกิดเกลือ


-มีที่อิเล็กตรอนวงนอกเท่ากับ 7

-ธาตุ หมู่ 7 สามารถรับ อิเล็กตรอนจากไอออนของธาตุได้ 1 อนุภาค

-ไอออนของธาตุหมู่ 7 เมื่อละลายน้ำได้สารละลายที่ไม่มีสี เช่น Cl- , Br- , I-

-ธาตุ หมู่ 7 1 โมเลกุลมี 2 อะตอม เช่น Cl2 Br2


ประโยชน์ที่นำไปใช้
1. F2- ใช้เป็นส่วนผสมในยาสีฟัน
2. I2 - ใช้ผสมในอาหารเพื่อป้องกันโรคคอพอก
3. Cl2- ใช้เป็นส่วนผสมน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น ในน้ำประปา












1. เป็นอโลหะ มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 สภาวะปกติ F2 และ Cl2 เป็นก๊าซ สีเหลืองอ่อนและเขียวอ่อนตามลำดับ Br2 เป็นของเหลวสีน้ำตาลแดง และ I2 เป็น ของแข็งสีม่วง ซึ่งสีของธาตุฮาโลเจนจะเข้มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ทุกตัวเป็นสารพิษ

2. ความเป็นโลหะจะเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น

3. ธาตุฮาโลเจนทุกตัวอยู่ในสภาพโมเลกุลอะตอมคู่ (diatomic molecule) ทุกสถานะทั้งของแข็ง ของเหลวและก๊าซ โดยยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์

4. ไม่นำความร้อนและไฟฟ้าเพราะเป็นอโลหะ

5. อะตอมมีขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับธาตุในคาบเดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น

6. ความหนาแน่นน้อย แต่ความหนาแน่นจะเพิ่มขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น

7. มีจุดหลอมเหลว จุดเดือดและความร้อนแฝงของการเกิดไอต่ำ เนื่องจากมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล (คือแรงวันเดอร์วาลส์) น้อย แต่จุดหลอมเหลว จุดเดือดและความร้อนแฝงของการเกิดไอเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เพราะมีแรงวันเดอร์วาลส์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การระเหยของธาตุหมู่ VIIA จะค่อยๆ ลดลง เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เพราะแรงวันเดอร์วาลส์เพิ่มขึ้น

8. มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงที่สุด ในคาบเดียวกัน และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น

9. มี IE1 ค่อนข้างสูง และค่า IE1 จะค่อยๆ ลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เนื่องจากขนาดอะตอมใหญ่ขึ้น

10. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า เนื่องจากมี 7 เวเลนซ์อิเล็กตรอน ซึ่งสามารถจะให้หรือรับอิเล็กตรอนจากธาตุอื่น หรือใช้อิเล็กตรอนร่วมกับธาตุอื่นๆ ซึ่งมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่างๆ กันได้ ทำให้มีเลขออกซิเดชันหลายค่า เช่น Cl มีเลขออกซิเดชันตั้วแต่ -1 ถึง +7

11. เกิดสารประกอบได้หลายชนิด เช่น NaCl CaF2 HF KI และยังเกิดสารประกอบ ที่มีธาตุองค์ประกอบชนิดเดียวกัน
ได้หลายชนิด เพราะมีเลขออกซิเดชันหลายค่า เช่น NaClO NaClO2 NaClO3 NaClO4 Cl2O ClO2 ClO3 และ Cl2O7 เป็นต้น

12. ธาตุหมู่ VIIA ละลายในน้ำได้เล็กน้อยและให้สีต่างๆ กัน เนื่องจากเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว จึงละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ใน CCl4 >> Cl2 ใน CCl4 ไม่มีสี >>Br2 ใน CCl4 สีส้ม >> I2 ใน CCl4 สีม่วง

13. ธาตุที่อยู่ตอนบนของหมู่ สามารถทำปฏิกิริยากับสารประกอบแฮไลด์ของธาตุที่อยู่ตอนล่างได้ แต่ธาตุอยู่ตอนล่าง จะไม่ทำปฏิกิริยากับสารประกอบแฮไลด์ของธาตุที่อยู่ตอนบน จึงสรุปได้ว่า “ความสามารถในการทำปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIA จะลดลงจากบนลงล่าง” ดังตาราง



จากข้อมูลในตาราง เมื่อเติมสารละลายคลอรีนใน CCl4 (ใสไม่มีสี) ลงในสารละลาย KBr สารละลายผสมจะแยกเป็น 2 ชั้นและในชั้นของ CCl4 ปรากฏเป็นสีส้ม แสดงว่ามี Br2 เกิดขึ้นและละลายอยู่ในชั้นของ CCl4 เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
2Br- + Cl2 2Cl- + I2

ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เมื่อเติมสารละลายคลอรีนและโบรมีนใน CCl4 ลงในสารละลาย KI พบว่าในชั้นของ CCl4 มีสีชมพูแกมม่วง แสดงว่ามี I2 เกิดขึ้นและละลายอยู่ในชั้นของ CCl4 เขียนสมการแสดงปฏิกิริยาได้ดังนี้
2I- + Cl2 2Cl- + I2
2I- + Br2 2Br- + I2

แสดงว่าคลอรีนสามารถทำปฏิกิริยาได้กับทั้ง KBr และ KI โบรมีนทำปฏิกิริยาได้เฉพาะ KI ส่วนไอโอดีนไม่ทำปฏิกิริยากับทั้ง KCl KBr และ KI จากข้อมูลแสดงผลการทดลองในตาราง ช่วยให้สรุปได้ว่า คลอรีนมีความสามารถในการทำปฏิกิริยาได้ดีกว่าโบรมีนและโบรมีนทำปฏิกิริยาได้ดีกว่าไอโอดีน หรืออาจกล่าวได้ว่าความสามารถในการทำปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIA ลดลงจากบนลงล่าง


Calendar

บอก WEB นี้ให้เพื่อน :